วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนของฉัน



ประวัติโรงเรียนบ้านดุงวิทยา โรงเรียนบ้านดุงวิทยา

เริ่มก่อตั้งอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2511โดยมีประวัติการก่อตั้งดังนี้
ความเป็นมา เนื่องด้วยอำเภอบ้านดุงเป็นอำเภอที่อยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดอุดรธานี ยังไม่มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาให้นักเรียนที่เรียนจบระดับประถมศึกษาตอนปลาย ที่ต้องการเรียนต่อจำนวนมาก ชาวอำเภอบ้านดุงซึ่งประกอบด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน จึงได้ร่วมใจกันดำเนินการขอจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ โดยความร่วมมือของ
นายเชิด ทิพยราช ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอบ้านดุง
นายชาญ สร่างนิทร ครูใหญ่โรงเรียนบ้านดุง,
นายวิชัย ทิพยาลัย ครูใหญ่โรงเรียนบ้านกำแมด และ
นายดุสิต บุรีเพีย ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองสองห้อง (สมัยนั้น)
ดำเนินการติดต่อประสานงานเพื่อขออนุมัติก่อตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาและได้เปิดรับสมัคร
นักเรียนรุ่นแรกจำนวน 44 คน และเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่
19 พฤษภาคม 2512 โดยได้รับความร่วมมือจากคณะครูโรงเรียนบ้านดุง(ร.ร.ชุมชนบ้านดุงปัจจุบัน )เป็นครูผู้สอน โดยได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้อาคารอเนกประสงค์เป็นห้องเรียนชั่วคราวและได้รับการสนับสนุนด้านวัสดุ-อุปกรณ์-โต๊ะ-เก้าอี้ จากประชาชนที่เห็นความสำคัญของการศึกษากุลบุตร-กุลธิดา โรงเรียนได้ดำเนินงานจัดการการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพเรื่อยมา จนกระทั่งได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนขึ้นในสถานที่ปัจจุบันและได้ย้ายมา
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2513 และนักเรียนรุ่นแรกจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(ม.ศ.3)เมื่อ
ปีการศึกษา 2514 (มีนาคม 2515)
ปัจจุบันนี้ ปี 2547 โรงเรียนบ้านดุงวิทยาได้พัฒนาตนเองมีความเจริญก้าวหน้าเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่และเป็นศูนย์กลางของจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของอำเภอบ้านดุง มีความพร้อมทั้งด้านครู-อาจารย์ ด้านอาคารสถานที่ และประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเป็นที่เชื่อถือจากประชาชนชาวอำเภอบ้านดุงและอำเภอต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและมีผลงานที่สามารถสร้างสรรการศึกษาไว้อย่างเป็นรูปธรรม คือ
1. สามารถจัดตั้งโรงเรียนสาขาจนสามารถตั้งตัวเป็นเอกเทศได้ถึง 4 โรง คือ
1.1 โรงเรียนนาไหมพิทยาคมรัชมังคลาภิเษก ปี 2531
1.2 โรงเรียนนาสะอาดชุมแสงวิทยา ปี 2533
1.3 โรงเรียนชัยนาคำวิทยา และ โรงเรียนทรัพย์อุดมวิทยา ปี 2537
2. มีผลงานที่มีคุณค่าสูงสุดที่ทุกสถานศึกษาภูมิใจที่ได้รับ คือ รางวัลโรงเรียน
พระราชทานประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดกลางเมื่อปี พ.ศ. 2532
3. ปี 2543 เป็นโรงเรียนนำร่องในการประกันคุณภาพการศึกษาได้รับการประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัดครั้งแรก ผลการประเมินได้รับการยอมรับ ร้อยละ60
4. ปี 2544 เป็นโรงเรียนนำร่องในการประเมินภายในเพื่อรอรับการประเมินภายนอกได้รับการประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัด ครั้งที่ 2 ผลการประเมินได้รับการยอมรับ ร้อยละ 80
5. ปี 2545 เป็นโรงเรียนนำร่องในการประเมินภายในเพื่อรอรับการประเมินภายนอกได้รับการประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัด ครั้งที่ 2 ผลการประเมินได้รับการยอมรับ ร้อยละ 100
6.ปี 2546 เป็นโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนตามโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน ของรัฐบาล
7.ปีการศึกษา 2546( 5-7 มกราคม 2547) ได้รับการประเมินภายนอกจาก สมศ.
8.ปีการศึกษา 2548( 3 มีนาคม 2549) ได้รับการประเมินและผ่านการรับรองให้เป็นโรงเรียน 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน ตามโครงการของรัฐบาล
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนบ้านดุงวิทยา
1. นายชาญ สร่างนิทร พ.ศ. 2518 - 2521 ( เกษียณอายุ )
2. นายวิลาศ สีตรารมย์ พ.ศ. 2521 - 2526 ( ย้าย )
3. นายมณเฑียร ศรีภูธร พ.ศ. 2526 - 2535 ( ย้าย )
4. นายวุฒิชัย บุญบุตตะ พ.ศ. 2535 - 2543 ( ย้าย )
5. นายอัธยาศัย โฮมวงศ์ พ.ศ. 2543 - 2551 ( ย้าย )
6. นายประมวล โสภาพร พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน
ตราของโรงเรียน
ความหมาย เป็นสัญลักษณ์ที่ประกอบด้วย
พญานาค ซึ่งเป็นภาพหนึ่งของเจ้าพ่อศรีสุทโธ
สะโนด หรือ ชะโนด คือต้นสะโนด(ชะโนด) เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะพิเศษมีขึ้นอยู่ที่เดียวคือที่
คำสะโนด(ชะโนด)อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเชื่อว่าเป็นที่อยู่ของเจ้าปู่ศรีสุทโธ
ลำน้ำทวน น้ำที่ล้อมรอบก็คือลำน้ำทวนอันเป็นสายน้ำที่ไหลผ่านอำเภอบ้านดุงลงสู่
คำสะโนด ยังผลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่ชาวบ้านดุงทั้งปวง
นก 1 คู่ แสดงถึงความรักใคร่กลมเกลียวกันเหมือนดังคู่นก 1 คู่ที่บินเคียงคู่กัน กลีบบัว 16 กลีบ ที่ล้อมรอบเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดีทั้งปวง
ปรัชญาโรงเรียน
ทนโต เสฎโฐ มนุสเสสุ หมายความว่า บุคคลที่ฝึกดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์
คติพจน์ของโรงเรียน ประพฤติดี มีวินัย ตั้งใจเรียน
ชีวทัศน์ของโรงเรียน “ลูกเจ้าพ่อศรีสุทโธ คนโก้ชมพู-ม่วง โชติช่วงคำสะโนด
คนโปรดชาวนาเกลือ เคยพายเรือในลำน้ำทวน”
ความเป็นมา เป็นคำอธิบายให้เห็นภาพของความเป็นท้องถิ่น กล่าวคือ ชาวอำเภอบ้านดุงทุกคนให้ความนับถือ"เจ้าปู่ศรีสุทโธ" ที่ซึ่งตามตำนานเก่าแก่เล่าไวัว่าเป็นเทพที่สถิตอยู่ดินแดนมหัศจรรย์อันศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า คำสะโนด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประกอบด้วยกลุ่มต้นไม้ไม่เคยพบเห็นในที่ใดของประเทศไทย ที่เรียกกันว่า ต้นสะโนด(ภาษาท้องถิ่น)หรือต้นชะโนด ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุดรธานี สี ชมพู-ม่วง คือ สีประจำโรงเรียน นาเกลือ เดิมเขตอำเภอบ้านดุงได้รับการสำรวจแร่โปแตสโดยกรมทรัพยากรธรณี หลังจากนั้นชาวบ้านพบว่าร่องรอยที่ทางการขุดเจาะสำรวจแร่นั้นมีนำเกลืออยู่เป็นจำนวนมากจึงได้นำมาทดลองต้มเป็นเกลือสินเธาว์และพัฒนามาเป็นการอุตสาหกรรมเกลือต้มและนาเกลือในที่สุด ปัจจุบันได้รับการส่งเสริมจากกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นแหล่งสร้างงานหลักและสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญมีเงินหมุนเวียนอย่างมากมาย ทำให้เกิดการจ้างงานอย่างกว้างขวาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น