วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนของฉัน



ประวัติโรงเรียนบ้านดุงวิทยา โรงเรียนบ้านดุงวิทยา

เริ่มก่อตั้งอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2511โดยมีประวัติการก่อตั้งดังนี้
ความเป็นมา เนื่องด้วยอำเภอบ้านดุงเป็นอำเภอที่อยู่ห่างไกลจากตัวจังหวัดอุดรธานี ยังไม่มีโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาให้นักเรียนที่เรียนจบระดับประถมศึกษาตอนปลาย ที่ต้องการเรียนต่อจำนวนมาก ชาวอำเภอบ้านดุงซึ่งประกอบด้วยข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน จึงได้ร่วมใจกันดำเนินการขอจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นสายสามัญ โดยความร่วมมือของ
นายเชิด ทิพยราช ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอบ้านดุง
นายชาญ สร่างนิทร ครูใหญ่โรงเรียนบ้านดุง,
นายวิชัย ทิพยาลัย ครูใหญ่โรงเรียนบ้านกำแมด และ
นายดุสิต บุรีเพีย ครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองสองห้อง (สมัยนั้น)
ดำเนินการติดต่อประสานงานเพื่อขออนุมัติก่อตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาและได้เปิดรับสมัคร
นักเรียนรุ่นแรกจำนวน 44 คน และเปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่
19 พฤษภาคม 2512 โดยได้รับความร่วมมือจากคณะครูโรงเรียนบ้านดุง(ร.ร.ชุมชนบ้านดุงปัจจุบัน )เป็นครูผู้สอน โดยได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้อาคารอเนกประสงค์เป็นห้องเรียนชั่วคราวและได้รับการสนับสนุนด้านวัสดุ-อุปกรณ์-โต๊ะ-เก้าอี้ จากประชาชนที่เห็นความสำคัญของการศึกษากุลบุตร-กุลธิดา โรงเรียนได้ดำเนินงานจัดการการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพเรื่อยมา จนกระทั่งได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนขึ้นในสถานที่ปัจจุบันและได้ย้ายมา
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2513 และนักเรียนรุ่นแรกจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น(ม.ศ.3)เมื่อ
ปีการศึกษา 2514 (มีนาคม 2515)
ปัจจุบันนี้ ปี 2547 โรงเรียนบ้านดุงวิทยาได้พัฒนาตนเองมีความเจริญก้าวหน้าเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่และเป็นศูนย์กลางของจัดการการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของอำเภอบ้านดุง มีความพร้อมทั้งด้านครู-อาจารย์ ด้านอาคารสถานที่ และประสิทธิภาพในการเรียนการสอนเป็นที่เชื่อถือจากประชาชนชาวอำเภอบ้านดุงและอำเภอต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและมีผลงานที่สามารถสร้างสรรการศึกษาไว้อย่างเป็นรูปธรรม คือ
1. สามารถจัดตั้งโรงเรียนสาขาจนสามารถตั้งตัวเป็นเอกเทศได้ถึง 4 โรง คือ
1.1 โรงเรียนนาไหมพิทยาคมรัชมังคลาภิเษก ปี 2531
1.2 โรงเรียนนาสะอาดชุมแสงวิทยา ปี 2533
1.3 โรงเรียนชัยนาคำวิทยา และ โรงเรียนทรัพย์อุดมวิทยา ปี 2537
2. มีผลงานที่มีคุณค่าสูงสุดที่ทุกสถานศึกษาภูมิใจที่ได้รับ คือ รางวัลโรงเรียน
พระราชทานประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดกลางเมื่อปี พ.ศ. 2532
3. ปี 2543 เป็นโรงเรียนนำร่องในการประกันคุณภาพการศึกษาได้รับการประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัดครั้งแรก ผลการประเมินได้รับการยอมรับ ร้อยละ60
4. ปี 2544 เป็นโรงเรียนนำร่องในการประเมินภายในเพื่อรอรับการประเมินภายนอกได้รับการประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัด ครั้งที่ 2 ผลการประเมินได้รับการยอมรับ ร้อยละ 80
5. ปี 2545 เป็นโรงเรียนนำร่องในการประเมินภายในเพื่อรอรับการประเมินภายนอกได้รับการประเมินจากหน่วยงานต้นสังกัด ครั้งที่ 2 ผลการประเมินได้รับการยอมรับ ร้อยละ 100
6.ปี 2546 เป็นโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนตามโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน ของรัฐบาล
7.ปีการศึกษา 2546( 5-7 มกราคม 2547) ได้รับการประเมินภายนอกจาก สมศ.
8.ปีการศึกษา 2548( 3 มีนาคม 2549) ได้รับการประเมินและผ่านการรับรองให้เป็นโรงเรียน 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน ตามโครงการของรัฐบาล
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนบ้านดุงวิทยา
1. นายชาญ สร่างนิทร พ.ศ. 2518 - 2521 ( เกษียณอายุ )
2. นายวิลาศ สีตรารมย์ พ.ศ. 2521 - 2526 ( ย้าย )
3. นายมณเฑียร ศรีภูธร พ.ศ. 2526 - 2535 ( ย้าย )
4. นายวุฒิชัย บุญบุตตะ พ.ศ. 2535 - 2543 ( ย้าย )
5. นายอัธยาศัย โฮมวงศ์ พ.ศ. 2543 - 2551 ( ย้าย )
6. นายประมวล โสภาพร พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน
ตราของโรงเรียน
ความหมาย เป็นสัญลักษณ์ที่ประกอบด้วย
พญานาค ซึ่งเป็นภาพหนึ่งของเจ้าพ่อศรีสุทโธ
สะโนด หรือ ชะโนด คือต้นสะโนด(ชะโนด) เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะพิเศษมีขึ้นอยู่ที่เดียวคือที่
คำสะโนด(ชะโนด)อันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเชื่อว่าเป็นที่อยู่ของเจ้าปู่ศรีสุทโธ
ลำน้ำทวน น้ำที่ล้อมรอบก็คือลำน้ำทวนอันเป็นสายน้ำที่ไหลผ่านอำเภอบ้านดุงลงสู่
คำสะโนด ยังผลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่ชาวบ้านดุงทั้งปวง
นก 1 คู่ แสดงถึงความรักใคร่กลมเกลียวกันเหมือนดังคู่นก 1 คู่ที่บินเคียงคู่กัน กลีบบัว 16 กลีบ ที่ล้อมรอบเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดีทั้งปวง
ปรัชญาโรงเรียน
ทนโต เสฎโฐ มนุสเสสุ หมายความว่า บุคคลที่ฝึกดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐในหมู่มนุษย์
คติพจน์ของโรงเรียน ประพฤติดี มีวินัย ตั้งใจเรียน
ชีวทัศน์ของโรงเรียน “ลูกเจ้าพ่อศรีสุทโธ คนโก้ชมพู-ม่วง โชติช่วงคำสะโนด
คนโปรดชาวนาเกลือ เคยพายเรือในลำน้ำทวน”
ความเป็นมา เป็นคำอธิบายให้เห็นภาพของความเป็นท้องถิ่น กล่าวคือ ชาวอำเภอบ้านดุงทุกคนให้ความนับถือ"เจ้าปู่ศรีสุทโธ" ที่ซึ่งตามตำนานเก่าแก่เล่าไวัว่าเป็นเทพที่สถิตอยู่ดินแดนมหัศจรรย์อันศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า คำสะโนด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ประกอบด้วยกลุ่มต้นไม้ไม่เคยพบเห็นในที่ใดของประเทศไทย ที่เรียกกันว่า ต้นสะโนด(ภาษาท้องถิ่น)หรือต้นชะโนด ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุดรธานี สี ชมพู-ม่วง คือ สีประจำโรงเรียน นาเกลือ เดิมเขตอำเภอบ้านดุงได้รับการสำรวจแร่โปแตสโดยกรมทรัพยากรธรณี หลังจากนั้นชาวบ้านพบว่าร่องรอยที่ทางการขุดเจาะสำรวจแร่นั้นมีนำเกลืออยู่เป็นจำนวนมากจึงได้นำมาทดลองต้มเป็นเกลือสินเธาว์และพัฒนามาเป็นการอุตสาหกรรมเกลือต้มและนาเกลือในที่สุด ปัจจุบันได้รับการส่งเสริมจากกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นแหล่งสร้างงานหลักและสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญมีเงินหมุนเวียนอย่างมากมาย ทำให้เกิดการจ้างงานอย่างกว้างขวาง

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประวัติของข้าพเจ้า

ชื่อ นางสุวรรณี นามสกุล ยุทตะรินทร์
ชื่อเล่น ณี
เกิดวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2508
อาชีพ รับราชการครู
สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านดุงวิทยา
คติพจน์ ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
สีที่ชอบ สีฟ้า
อาหารที่ชอบ ส้มตำ ไก่ย่าง
ความฝัน ทุกคนในครอบครัวมีความสุข